7STEP เขียนแผนธุรกิจให้ปัง
7STEP เขียนแผนธุรกิจให้ปัง
“แผนธุรกิจ” คือการวางแผนในการทำธุรกิจเพื่อให้เราสามารถมองเห็นภาพรวม
ของธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ และสามารถวัดผลของธุรกิจได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
และถ้าหากคุณสามารถเขียนแผนธุรกิจได้เป็นอย่างดีจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหา
เงินทุนเพื่อมาพัฒนาธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย โดยหลักในการเขียนแผนธุรกิจจะ
แบ่งออกเป็น 7 ข้อหลักๆ ดังนี้
1.Business Idea (แนวคิดหลักการทำธุรกิจ)
แนวคิดหลักการทำธุรกิจคือโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจที่มีให้กับผู้
บริโภค ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญมากในการหาแหล่งเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจกับ
สถาบันการเงินต่างๆ โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
- ภาพรวมธุรกิจ » แนวคิดที่มา และใจความสำคัญของธุรกิจ
- โอกาสและการแข่งขัน » การคาดการณ์ถึงโอกาสในการเติบโตบนท้องตลาด
ที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง
- เป้าหมาย » การวางเป้าหมายทางธุรกิจ เพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการทั้งระยะสั้น
และระยะยาวของธุรกิจ
- กลยุทธ์ » การอธิบายแนวทางและวิธีที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
- แผนการลงทุน » แผนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย เพื่อประเมินความเสี่ยงในการลงทุน
- ผลตอบแทนที่คาดการณ์ว่าจะได้รับ » การกำหนดผลตอบแทนที่จะได้รับจาการ
ประเมินความเสี่ยง เช่น ยอดขาย, จำนวนพนักงาน เป็นต้น
2. Business Background (ความเป็นมาของธุรกิจ)
การอธิบายลักษณะของธุรกิจในปัจจุบันและสิ่งที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคต เช่น
ประวัติความเป็นมา , ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นส่วน,ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
รวมไปถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ
3. Business Analysis ( วิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส)
การนำแผนธุรกิจทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบของ SWOT Analysis เพื่อให้
มองเห็นถึงปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อการเติบโตของธุรกิจ
4. Marketing Plan (แผนการตลาด)
การอธิบายถึงกลยุทธ์ในการทำการตลาด การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายและ
วิธีเข้าถึงลูกค้าด้วยการประเมินผ่าน 4P Marketing Mix
5. Operation Plan (แผนการดำเนินการ)
การกำหนดขอบเขตในการทำธุรกิจ เช่น แผนการบริหารพนักงาน ,
แผนการบริหารทรัพยากร , แผนการบริการลูกค้า และแผนการจัดส่ง
ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบของธุรกิจได้
6. Financial Plan (แผนการเงิน)
การทำแผนการเงินในส่วนของการบริหารเงินทุน มีรายละเอียดดังนี้
- แผนการเงินเพื่อการลงทุน
- แผนการประเมินรายได้ (ยอดขาย)
- สถานะทางการเงิน เช่นกระแสเงินสด งบกำไรขาดทุน
- การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่จะได้รับ
- ระยะเวลาการลงทุน
- จุดคุ้มทุน
7. Emergency Plan (แผนรับมือฉุกเฉิน)
แผนรับรองสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ปัญหาการขนส่ง , อุทกภัย ,
โรคระบาด , วิกฤตเศรษฐกิจ เป็นต้น
สุดท้ายนี้การจะทำธุรกิจให้ปังนอกจากจะต้องวิเคราะห์ให้ดีแล้ว จำเป็นจะต้องมี
Partner ที่ดีอย่าง Impa Order ในการสั่งซื้อและนำเข้าสินค้าจากจีนด้วย
เพราะเราจะเป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยที่น่ารักให้กับคุณ เพื่อให้คุณได้มีเวลาไปบริหาร
ธุรกิจอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องการนำเข้าไว้ใจ Impa Order ได้เลย
กดติดตาม Impa Order เพื่อรับสาระที่มีประโยชน์และโปรโมนชั่นดีๆ
หรือสนใจนำเข้าสินค้าจากจีนติดต่อ
FB : Impa Order พรีออเดอร์นำเข้าสินค้าจากจีน
Line : @Impaorder
IG : Impaorder_official
Tel : 085-085-4444